วันที่ 31 ม.ค. ศาลรัฐธรรมนูญ นัดอ่านคำวินิจฉัย คดีกล่าวหา นายพิธา ลิ้มเจิรญรัตน์ และพรรคก้าวไกล ที่เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาเพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยใช้เป็นนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้ง และยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคหนึ่งหรือไม่
ย้อนฟังประธานศาล รธน. ปลายทางคดี 112 ถึงขั้นยุบพรรคหรือไม่!
ย้อนไทม์ไลน์ คดีแก้ 112 “พิธา-ก้าวไกล” ก่อนกกต.มีมติยุบพรรคคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง!
วิบากกรรมก้าวไกล! ผลพวงคดีแก้ 112 หลังจากนี้มีอะไรรออยู่
โดยผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเอกฉันท์ วินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง และสั่งการให้ผู้ถูกร้องทั้งสองเลิกการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นเพื่อให้มีการยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 อีกทั้งไมให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ด้วยวิธีการซึ่งไม่ใช่กระบวนการทางนิติบัญญัติโดยชอบ ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตด้วย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคสอง และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 74
ทั้งนี้ในการอ่านคำวินิจฉัยมีประเด็นน่าสนใจ โดยศาลรัฐธรรมนูญมีความเห็นตอนหนึ่งว่า มาตรา 112 อยู่ในลักษณะ 1 ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ แห่งราชอาณาจักร เนื่องจากต้องคุ้มครองทั้งความมั่นคงแหงราชอาณาจักร และเกียรติยศของประมุขของรัฐ สอดคล้องกับรับธรรมนูญมาตรา 2 ที่บัญญัติรับรองว่าประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สถาบันพระมหากษัตริย์จึงมีความสัมพันธ์ต่อความมั่นคงของประเทศ เพราะพระมหากษัตริย์กับชาติไทยดำรงอยู่เป็นเนื้อเดียวกัน การกระทำความผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์จึงเป็นการกระทำความผิดต่อความมั่นคงของประเทศด้วย
การที่ผู้ถูกร้องทั้งสองเสนอให้ความผิดตามมาตรา 112 ออกจากความผิดตามลักษณะ 1 จึงเป็นการกระทำเพื่อมุ่งหวังให้ความผิดตามมาตรา 112 ไม่มีความสำคัญ และไม่ร้ายแรง ไม่ให้ถือเป็นความผิดที่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ มีเจตนามุ่งหมายแยกสถาบันพระมหากษัตริย์และความเป็นชาติไทยออกจากกัน จึงเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐอย่างมีนัยยะสำคัญ
นอกจากนั้นการที่ผู้ถูกร้องทั้ง 2 เสนอแก้ไขมาตรา 112 เพื่อลดสถานะสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้ง และดำเนินการต่อเนื่อง เป็นการใช้นโยบายพรรคการเมือง และนำสถาบันพระมหากษัตริย์ลงมาเพื่อหวังคะแนนเสียงและประโยชน์ในการชนะการเลือกตั้ง มุ่งหมายให้สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ในสถานะเป็นคู่ขัดแย้งของประชาชน ทำให้สถาบันต้องเข้าไปเป็นฝักฝ่าย ต่อสู้แข่งขันรณรงค์ทางการเมือง อันอาจนำมาซึ่งการโจมตี ติเตียน โดยไม่คำนึงถึงหลักการปกครองที่สำคัญว่าพระมหากษัตริย์ต้องดำรงฐานะอยู่เหนือการเมือง และความเป็นกลางทางการเมือง
การที่ผู้ถูกร้องทั้งสองเสนอร่างแก้ไขมาตรา 112 และใช้เป็นนโยบายหาเสียงเลือกตั้งดังกล่าว มีเจตนาเซาะกร่อนบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นเหตุให้ชำรุด ทรุดโทรม เสื่อมทราม หรืออ่อนแอลง นำไปสู่การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในที่สุด
ศาลรัฐธรรมนูญยังระบุอีกว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า การกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองมีพฤติการณ์ในการใช้สิทธิหรือเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการ ความคิดเห็นเพื่อการเรียกร้องให้มีการทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยซ่อนเร้นหรือผ่านการนำเสนอร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และใช้เป็นนโยบายพรรค รวมทั้งมีการรณรงค์ให้มีการยกเลิก หรือแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มีลักษณะดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เป็นขบวนการ โดยใช้หลายพฤติการณ์ประกอบกัน ทั้งการชุมนุม การจัดกิจการ การรณรงค์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์การเสนอร่างแก้ไขกฎหมายเข้าสู่สภา และการใช้เป็นนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง
หากยังปล่อยให้ผู้ถูกร้องทั้งสองกระทำการดังกล่าวต่อไป ย่อมไม่ไกลเกินเหตุที่จะนำไปสู่การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสอง จึงเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง
กางคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ คดีแก้ 112 “พิธา-ก้าวไกล”
ออปต้า ทำนายผลแข่งศึกพรีเมียร์ลีก ลิเวอร์พูล พบ เชลซี
เปิดสถิติหวยออกย้อนหลัง 15 ปี งวด 1 กุมภาพันธ์